โพสต์โดย : ทิพย์วรรณ เวฬุวนาธร วันที่ 27 มิถุนายน 2564 , 18:47:51 (อ่าน 1,147 ครั้ง)
ม.อุบลฯ ร่วมกับ ม.สารคาม ประชุมเพื่อรับฟังการชี้แจงและให้ข้อคิดเห็นการประเมินพื้นที่พิเศษ
เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมอีสานใต้ (ออนไลน์)
--------------------------------------------
เมื่อวันพุธที่ 23 มิถุนายน 2564 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมกับ คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ประชุมออนไลน์) เพื่อรับฟังการชี้แจงและให้ข้อคิดเห็นการประเมินพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมอีสานใต้ ณ ห้องบอลรูม (U2) ชั้น 2 โรงแรมยูเพลส มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยมี นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม นางสาววัชรี ชูรักษาผู้ช่วยผู้อำนวยการ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนกล่าวต้อนรับและแนะนำที่มาและความสำคัญของพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและ ศาสตราจารย์ ดร.ปฐม หงษ์สุวรรณ คณบดีคณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดประชุมครั้งนี้ เพื่อศึกษาศักยภาพของพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมอีสานใต้ เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจเชิงนโยบายสำหรับเตรียมความพร้อมในการประกาศเขตพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและสร้างภาคีเครือข่ายในพื้นที่และร่วมพัฒนาพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยมี ผู้รับผิดชอบกิจกรรมในแต่ละจังหวัด ดังนี้ ผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.ณัฎฐินี ทองดี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา รับผิดชอบจังหวัดนครราชสีมา ดร.กนกเกล้า แกล้วกล้า มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รับผิดชอบจังหวัดบุรีรัมย์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริวรรต สมนึก มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี รับผิดชอบจังหวัดอุบลราชธานี
สำหรับการประกาศพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนมีวัตถุประสงค์ เพื่อประสานการบริหารจัดการการท่องเที่ยวระหว่างส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ หรือได้รับมอบหมายให้บริหารจัดการการท่องเที่ยวไม่ว่าในระดับชาติ ระดับภูมิภาค หรือระดับท้องถิ่น ในการประสนการใช้อำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ชุมชน ฝังเมือง สิ่งแวดล้อมการท่องเที่ยว หรือการรักษาความสงบเรียบร้อย เพื่อบูรณาการการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และยังส่งเสริมสนับสนุนให้มีการพัฒนา และรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ส่งเสริมการใช้ศักยภาพของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาตลาดท่องเที่ยว โดยส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนและชมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนท้องถิ่นของตน ในการส่งเสริมสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชนท้องถิ่นจัดให้มีการบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น ส่งเสริมการจัดทำข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับการท่องเที่ยว และส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ที่มีศักยภาพในด้านการท่องเที่ยว เพื่อให้เกิดการจ้างงานและยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่แห่งท้องถิ่นให้ดีขึ้นต่อไป
------------------------------------------
ทิพย์วรรณ เวฬุวนาธร นักประชาสัมพันธ์ ชำนาญการ ม.อุบลฯ ภาพ/ข่าว