มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี : Ubon Ratchathani University
 นักศึกษา    บุคลากร    ศิษย์เก่า   UBU English       |      




คณะวิทยาศาสตร์ ม.อุบลฯ จัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2566 นวัตกรรมเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศสู่อนาคตที่ยั่งยืน


โพสต์โดย : ทิพย์วรรณ เวฬุวนาธร     วันที่ 18 สิงหาคม 2566 , 16:43:36     (อ่าน 1,064 ครั้ง)  



คณะวิทยาศาสตร์ ม.อุบลฯ จัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2566

“นวัตกรรมเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศสู่อนาคตที่ยั่งยืน”

---------------------------------------

          มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดย คณะวิทยาศาสตร์ จัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2566 ภายใต้คำขวัญ “นวัตกรรมเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศสู่อนาคตที่ยั่งยืน” ในระหว่างวันที่ 17 – 18 สิงหาคม 2566 ณ คณะวิทยาศาสตร์ โดยมี นายสุทธิพงศ์  บัวหอม นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเป็นผู้แทนนักศึกษากล่าวสดุดีเทิดพระเกียรติ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุตินันท์  ประสิทธิ์ภูริปรีชา อธิการบดี เป็นประธาน อัญเชิญพระบรมสาทิสลักษณ์ และเปิดกรวยถวายสักการะพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและ ศาสตราจารย์ ดร.ศิริพร  จึงสุทธิวงษ์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ กล่าวรายงานและวัตถุประสงค์การจัดงานครั้งนี้ เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระราชสมัญญานามพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ ๔ “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” และเพื่อส่งเสริมให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปได้ตระหนักถึงความสำคัญของบทบาทของการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อปลูกฝังให้เยาวชนมีเจตคติที่ดี เห็นความสำคัญและและความจำเป็นของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อการพัฒนาประเทศ  

          ศาสตราจารย์ ดร.ศิริพร  จึงสุทธิวงษ์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีกล่าวว่าในปีนี้ทางคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้กำหนดจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2566 ขึ้น โดยในปีนี้ กำหนดให้มีพิธีมอบโล่รางวัลเพื่อแสดงความยินดีกับนักวิจัยดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2566 4 คน ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เกษริน  สีบุญเรืองรางวัลนักวิจัยรุ่นใหม่ดีเด่น รองศาสตราจารย์ ดร. ปุริม  จารุจำรัส รางวัลนักวิจัยที่มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติดีเด่น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชัชวิน  นามมั่น และคณะ รางวัลผลงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์/นวัตกรรมดีเด่น จากผลงานวิจัยเรื่อง “ระบบตรวจสอบและติดตามการเลี้ยงจิ้งหรีดด้วยอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง” และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัชวุฒิ  โคตรลาคำ และคณะ ได้รับรางวัลผลงานวิจัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่ดีเด่น จากผลงานบริการวิชาการเรื่อง “การจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือน (ถังหมักรักษ์โลก)” รางวัลบัณฑิตศึกษาดีเด่น 5 คน ได้แก่ นายเฉลิมพล  มุธุวงศ์ นักศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชาฟิสิกส์ รางวัลบัณฑิตศึกษาที่มีผลงานตีพิมพ์ระดับนานาชาติดีเด่น นางสาวนิญาดา  ขุนคง นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาเคมี รางวัลบัณฑิตศึกษาที่มีผลงานตีพิมพ์ระดับนานาชาติดีเด่นและ นายอัครพงศ์  ประกอบกิจ นักศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชาเคมี นางสาวกานพิชชา  สมเนตร นักศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชาเคมี และ นางสาวพัทธนันท์  เงาศรี นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาเคมี รางวัลประกาศเกียรติคุณบัณฑิตศึกษาที่มีผลงานตีพิมพ์ระดับนานาชาติ จากนั้นเป็น พิธีมอบตราพระราชทานฯ โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เครือข่ายท้องถิ่นมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 4 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนเทศบาล 3 สามัคคีวิทยาคาร รับตราพระราชทานโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทยรอบที่ 3 ระดับปฐมวัย โรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านโพธิ์กลาง) รับตราพระราชทานโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทยรอบที่ 1 ระดับปฐมวัย โรงเรียนเทศบาลแสนสุข รับตราพระราชทานโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทยรอบที่ 1 ระดับปฐมวัย และ โรงเรียนเทศบาลแสนสุข รับตราพระราชทานโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทยรอบที่ 1 ระดับประถมศึกษา และพิธีมอบรางวัล Science Smart Teacher 2023รางวัลชมเชย 5 รางวัล เงินรางวัล 1,000 บาท ได้แก่ นายวรยุทธ  วงศ์นิล อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ สถิติ และคอมพิวเตอร์ ดร.สุทธนา  ปลอดสมบูรณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ผู้ช่วยศาสตราจารย์นิภาพร  คำหลอม อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ผู้ช่วยศาสตราจารย ดร.เกษริน  สีบุญเรือง อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี และ ดร.จิรัชยา  ใจสะอาดซื่อตรง อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ สถิติ และคอมพิวเตอร์ รางวัลดี 2 รางวัล เงินรางวัล 2,500 บาท ได้แก่ ดร.สุรสิทธิ์  สุทธิคำภา อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สราวุธ  ประเสริฐศรี อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี และรางวัลดีเด่น 1 รางวัล เงินรางวัล 5,000 บาท ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาพร  พรไตร อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

          และในส่วนของการจัดกิจกรรมภายในงานกำหนดให้มีการแข่งขันทักษะการใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย การประกวด Science Showการประกวดสื่อสร้างสรรค์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย การจัดกิจกรรมและนิทรรศการภาควิชาต่าง ๆ และการจัดการแข่งขันทางวิชาการเพื่อคัดเลือกผู้แทนภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าแข่งขันในระดับประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนจากสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย 4 กิจกรรม ได้แก่ การแข่งขันตอบปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น การแข่งขันวาดภาพจินตนาการทางวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และการแข่งขันกระบวนการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อคัดเลือกผู้แทนภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าแข่งขันในระดับประเทศต่อไป

          สำหรับการจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติครั้งนี้ เป็นอีกส่วนหนึ่งของพันธกิจหลักมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ที่มีความสอดคล้องด้านการบริการวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่สังคม และเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ส่งเสริมให้เยาวชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของบทบาทการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต  

-----------------------------------------

ทิพย์วรรณ  เวฬุวนาธร นักประชาสัมพันธ์ ชำนาญการ ม.อุบลฯ ภาพ/ข่าว

ประมวลภาพ งานสัปดาห์วิทยาลัยศาสตร์ประจำปี 2566https://drive.google.com/drive/folders/1xG2AnBx1ALAxS_tXbuCyNnRwLDfGlTO8




SDG Hashtag :

Tag อื่นๆ :